วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network )หมายถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่2ครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิลหรือสื่ออื่นๆทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางเราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host)และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่าไคลเอนต์(Client)ระบบเครือข่าย(Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสารเราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคารหรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลกซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วแก่ผู้ใช้ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย การที่คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้ ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานดังต่อไปนี้ -คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2เครื่อง -เน็ตเวิร์ดการ์ดหรือNIC(Network Interface Card)เป็นการ์ดที่เสียบเข้ากับช่องที่เมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย -สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่น สายสัญญาณ ส่วนสายสัญญาณที่นิยมที่ใช้กันในเครือข่ายก็เช่น สายโคแอ็กเชียล สายคู่เกลียวบิดและสายใยแก้วนำแสงเป็นต้น ส่วนอุปกรณ์เครือข่าย เช่น ฮับ สวิตช์ เราท์เตอร์ เกตเวย์ เป็นต้น -โปรโตคอล(Protocol)โปรโตคอลเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้ติดต่อสื่อสารกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถสื่อสารกันได้นั้นจำเป็นที่ต้องใช้“ภาษา”หรือใช้โปรโตคอลเดียวกันเช่น OSI,TCP/IP,IPX/SPX เป็นต้น - ระบบปฏิบัติการเครือข่ายหรือ NOS (Network Operating System)ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะเป็นตัวคอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่ การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูลทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks) องค์ประกอบพื้นฐาน หน่วยส่งข้อมูล(Sending Unit) ช่องทางการส่งข้อมูล(Transmisstion Channel) หน่วยรับข้อมูล(Receiving Unit) วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย -เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล -เเพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว -เพื่อลดเวลาการทำงาน -เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร -เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ -เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ อ้างอิง :http://www.chakkham.ac.th/technology/network/datacommu.html

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ซอฟแวร์ระบบ(System Software) Dos, Windows, Linux, Unix, Mac OS, Android, iOS, Symbian, Windows Phone

ซอฟต์แวร์ระบบ( System Software) หมายถึงโปรแรกมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทำงาน DOS (Disk operating System)เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ในอดีตออกมาพร้อมกับเครื่องพีซีของไอบีเอ็มรุ่นแรกๆ จากนั้นก็มีการพัฒนารุ่นใหม่ออกมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงเวอร์ชั่นสุดท้ายคือเวอร์ชั่น6.22 หลังจากที่มีการประกาศใช้วินโดวส์95 ก็คงจะไม่ผลิต DOSเวอร์ชชั่นใหม่ออกมาแล้ว โดยทั่วไปจะนิยมใช้วินโดวส์3.x ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมเสริมชนิดหนึ่งที่ใช้ในดอ WINDOWS เป็นระบบปฏิบัติการที่กำลังนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนามาถึงรุ่น Windows 2000แล้ว บริษัทไมโครซอฟต์ได้เริ่มประกาศใช้ MS Windows 95 ครั้งแรกเมื่อ 24สิงหาคม ค.ศ.1995 โดยมีความคิดที่ว่าจะออกมาแทน MS-DOS และ วินโดวส์ 3.X ที่ใช้ร่วมกันอยู่ ลักษณะของวินโดวส์ 95 จึงคล้ายกับเป็นระบบโอเอสที่มีทั้งดอสและวินโดวส์อยู่ในตัวเดียวกัน แต่เป็นวินโดวส์ที่มีลักษณะพิเศษกว่าวินโดวส์เดิม เช่น มีคุณสมบัติเป็น Plug and play ซึ่งสามารถจะรู้จักฮาร์ดแวร์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องได้โดยอัตโนมัติมีลักษณะเป็นระบบ 32บิต ในขณะที่วินโดวส์ เดิมเป็นระบบ 16 บิต เป็นต้น บริษัทไมโครซอฟต์ไม่ได้หยุดเพียงแค่วินโดวส์ 95 แต่ได้มีการพัฒนาเพิ่มฟังก์ชันใหม่ ๆ เข้าไป ในที่สุดก็ออกระบบโอเอสตัวถัดมาเป็น MS Windows 98 และ MS Windows 2000 ตามลำดับโดยที่มีการติดตั้ง และการใช้งานที่มีพื้นฐานไม่แตกต่างกันมากนัก จึงง่ายสำหรับผู้ใช้ในการปรับตัวเข้ากับระบบโอดอสใหม่ ๆ ลีนุกซ์ (Linux) เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ ดอส ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือยูนิกซ์ โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรม UNIX เป็นระบบ OS ที่สามารถใช้ร่วมกันได้หลายคน (Multiuser) หรือเป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีชื่อและพาสเวิร์ดส่วนตัว และสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก โดยผ่านทางสายโทรศัพท์และมี Modem เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลหรือโอนย้ายข้อมูล นิยมใช้อย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐบาล หรือบริษัทเอกชนที่มีระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่ ๆ ใช้ ในระบบยูนิกซ์เองก็มีวินโดวส์อีกชนิดหนึ่งใช้เรียกว่า X Windows สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ระบบยูนิกซ์ในเครื่องพีซีที่บ้านก็มีเวอร์ชั่นสำหรับพีซีเรียกว่า Linux ซึ่งจะมีคำสั่งพื้นฐานคล้าย ๆ กับระบบยูนิกซ์ Mac OS (แมค โอเอส) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้เฉพาะกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แมคอินทอช ที่ผลิตโดยบริษัทแอปเปิลแมคอินทอชโอเอสถูกเปิดตัวออกมาครั้งแรกในปี 1984 ลักษณะที่เด่นของระบบปฏิบัติการประเภทนี้คือ มีลักษณะที่ง่ายต่อการใช้งานมากกว่าระบบปฏิบัติการดอส เนื่องจากคำสั่งต่าง ๆ จะอยู่ในรูปแบบของเมนู และมีรูปภาพที่เรียกว่าไอคอน ที่ใช้แทนโปรแกรมหรืองานผู้ใช้สามารถใช้เมาส์คลิกเลือกเมนู หรือไอคอนเพื่อเรียกคำสั่งหรือโปรแกรมขึ้นมาทำงานได้ แทนการป้อนคำสั่งจากแป้นพิมพ์เหมือนดอส แอนดรอยด์ (Android) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่นสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) ซึ่งต่อมา กูเกิล ได้ทำการซื้อต่อบริษัทในปี พ.ศ. 2548 แอนดรอยด์ถูกเปิดตัวเมื่อ ปี พ.ศ. 2550 พร้อมกับการก่อตั้งโอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มของบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสารคมนาคม ที่ร่วมมือกันสร้างมาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์พกพา ไอโอเอส (IOS) โดยมีชื่อเดิมที่เรียกกันคือ ไอโฟนโอเอส (iPhone OS) คือระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ตโฟนของบริษัท แอปเปิล (Apple Inc.) เป็นระบบที่ได้พัฒนาขึ้นสำหรับใช้ในโทรศัพท์ไอโฟน (iPhone) และต่อมาได้มีการพัฒนาต่อเพื่อใช้สำหรับไอพอตทัช (iPod touch) และไอแพด (iPad) ซึ่งระบบ IOS สามารถเชื่อมต่อไปยัง Apps Store สำหรับการเข้าถึงแอปพลิเคชั่นที่สามารถใช้งานได้บนระบบปฎิบัติการ IOS หรือที่เรียกกันว่า IOS Application หรือ IOS Apps ซึ่งมีการแบ่งเป็นหมวดการใช้งานสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์ไอโฟนสามารถทำการโหลด IOS App มาใช้งานได้ตามต้องการ และนอกจากนี้ในปัจจุบันได้มีการพัฒนา IOS Apps สำหรับใช้งานและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ระบบ IOS อีกมากมาย Symbian คือ ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) ช่วยในการส่งข้อมูลของโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลัก เป็นระบบที่ใช้งานได้ง่าย มีความปลอดภัยสูง ช่วยประหยัดพลังงาน และใช้หน่วยความจำที่มีขนาดเล็ก เพื่อรองรับกับโทรศัพท์มือถือทั้งในปัจจุบันและอนาคต วินโดวส์โฟน (Windows Phone) เป็นตระกูลระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือกรรมสิทธิ์ ที่พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ และเป็นทายาทที่ของวินโดวส์โมเบิล แม้ว่าจะขัดกับมัน มีวัตถุประสงค์หลักในตลาดผู้บริโภคมากกว่าตลาดองค์กร เปิดตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคมค.ศ.2010 พร้อมกับการเปิดตัวในทวีปเอเชียต่อไปในช่วงต้นปี ค.ศ. 2011 เวอร์ชันล่าสุดของวินโดวส์โฟนคือ วินโดวส์โฟน 8 ซึ่งได้รับการบริการให้แก่ผู้บริโภคตั้งแต่วันที่ 29ตุลาคมค.ศ.2012 ด้วยระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟน ไมโครซอฟท์สร้างผู้ใช้ใหม่ในอินเตอร์เฟซ ที่มีภาษาการออกแบบที่เรียกว่า โมเดิร์นสไตล์ ยูไอ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ถูกรวมเข้ากับบริการของบุคคลที่สามและการบริการของไมโครซอฟท์ แหล่งที่มา : http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson3-1.asp

หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์

หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์(computer memory)มี2ประเภทคือ 1)หน่วยความจำหลัก(primary storage)หรือหน่วยความจำภายใน(internal memory)จะอยู่ภายในเครื่องเป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูล(data)และชุดคำสั่ง(instruction)มีหน้าที่ - เก็บข้อมูลที่รับเข้ามาเพื่อนำไปประมวลผลหน่วยความจำส่วนนี้เรียกว่าที่เก็บข้อมูล(Input Storage Area) - เก็บผลลัพธ์ที่ได้ขณะทำการประมวลผลซึ่งยังไม่ใช่ผลลัพธ์สุดท้ายหน่วยความจำส่วนนี้เรียกว่าที่เก็บข้อมูลขณะดำเนินการ (Working Storage Area) - เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้ายเรียกหน่วยความจำส่วนนี้ว่าที่เก็บผลลัพธ์(Output Storage Area) - เก็บชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลเรียกหน่วยความจำส่วนนี้ว่าที่เก็บโปรแกรม(Program Storage Area) 2)หน่วยความจำสำรอง(Secondary storage)ใช้เป็นส่วนเพิ่มความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำงานติดต่ออยู่กับหน่วยความจำหลักหน่วยความจำสำรองมีความจุมากและมีราคาถูกแต่เรียกหาข้อมูลได้ช้ากว่าส่วนความจำหลักคือ ทำงานได้ในเวลาเศษหนึ่งส่วนพันวินาทีเช่น แผ่นฟลอปปี้ดิสก์(Floppy Disk)จานแม่เหล็ก(Hard disk) แผ่นซีดี(CD Rom)เป็นต้น อ้างอิง : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=15ba965de2716a78

ความหมาย Hardware, Software, People Ware และ Data

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)หมายถึงอุปกรณ์ต่างๆที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้ หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล ซอฟแวร์ (Software)หมายถึง โปรแกรมชุดคำสั่งที่เขียนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามซึ่งมี 2ประเภทคือ 1)ซอฟแวร์ควบคุมระบบ(System Software)คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix 2)ซอฟแวร์ประยุกต์(Application Software)คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ บุคลากร(Peopleware)หมายถึง บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการใช้และดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น นักเขียนโปรแกรม(Programmer) นักวิเคราะห์ระบบ(System Analyst)เป็นต้น Data Rateหมายถึง ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากดิสก์ไปสู่สมองของเครื่องคอมพิวเตอร์(หรือมีความเร็วในการนำข้อมูลมาจากสมองเครื่องไปบันทึกลงบนดิสก์)มีหน่วยวัดเป็นจำนวนไบต์ต่อวินาที( Bytes Per Second หรือbps) อ้างอิง: http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_06.htm

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ มี5ส่วนที่สำคัญคือ 1.ฮาร์ดแวร์(Hardware)หมายถึงสิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์(Case) เมนบอร์ด(Mainboard)และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง(Peripheral)ที่เกี่ยวข้องเช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์อื่นๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยวๆได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า"ระบบคอมพิวเตอร์(Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น 2.ซอฟต์แวร์ (Software)หมายถึงโปรแกรม(Program)หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นเรียกว่าภาษาคอมพิวเตอร์(Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่งและมีโปรแกรมเมอร์(Programmer)หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่างๆขึ้นมา ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1)ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software)เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุมทรัพยากรต่างๆของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่างๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2)ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการเช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสารตลอดจนงานด้านอื่นๆตามแต่ผู้ใช้ต้องการ 3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือข้อมูลต่างๆที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆเกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลังก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือนแล้วคิดเป็นเงินที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ 4. บุคคลากร (Peopleware)คือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้นมีความสำคัญมากเพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆหลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนักเราจึงถือว่าบุคลากรเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ - เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator) - บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System) - ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager) - ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user) 5. กระบวนการทำงาน(Documentation/Procedure)เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกันมีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐานช่วยให้การประสานงานระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน อ้างอิง :http://www.comsimple.com

ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ Super Computer, Mini Computer, Micro Computer, Notebook, Tablet,Smart Phone

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์(Super Computer) หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุดโดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อนและต้องการความเร็วสูง เช่นงานวิจัยขีปนาวุธงานโครงการอวกาศสหรัฐ(NASA)งานสื่อสารดาวเทียมหรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพง ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลงเรียกว่าเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง(Harddisk)ในการเก็บรักษาข้อมูลสามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็วหน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ไมโครคอมพิวเตอร์(Micro Computer) หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็กมีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียวจึงมักถูกเรียกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(Personal Computer:PC) โน้ตบุ๊ค คือคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาในปัจจุบันมีขนาดพอๆกับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" คือ"เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ดและมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบconvertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม" Smart Phone หมายถึงโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถพิเศษเพิ่มเติมของ PDAเข้าไปทำให้สามารถมีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่น รับส่งอีเมล์ มีปฏิทิน จัดทำตารางนัดหมาย และ contact เป็นต้นเรียกได้ว่า Smart Phone เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมเลยทีเดียว อ้างอิง: https://sites.google.com/site/namchompoonuch/team-schedules

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี 3G

3G หรือ Third Generationเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่3อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่3นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสานการนำเสนอข้อมูลและเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกันเช่นPDAโทรศัพท์มือถือ Walkman,กล้องถ่ายรูปและอินเทอร์เน็ต3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่2และ2.5ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียงและการส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มากการพัฒนาของ3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดียและส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น อ้างอิง:http://www.chandra.ac.th/office/ict/project/3g%20technology/Content.php?node=1

บริการต่างๆของ Google

หลังจากที่เราได้รู้จักกับประวัติของ Google กันไปแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นเรื่องราวของบริการต่าง ๆ ที่ตอนนี้ Google ได้เปิดให้บริการแบบออนไลน์อย่างมากมาย นอกเหนือไปจากระบบดัชนีค้นหาหรือว่า Search Engines ซึ่งเป็นธุรกิจแรกเริ่มเดิมทีของ Google ปี 1998 สัญญาณของความสำเร็จ ปี 1999 เงินทุนก้อนใหญ่มาแล้ว ปี 2000 ปีแห่งการสยายปีกของ Google ปี 2001 การแตกไลน์ด้านการบริการครั้งสำคัญ ปี 2002 สานต่อเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในระดับโมเลกุล ปี 2003 ปีแห่งการพลิกโฉมใหม่ให้กับวงการโฆษณา ปี 2004 การประกาศศักดาของ Gmail และโปรแกรม Picasa ปี 2005 กับการมาของ Google Earth ปี 2006 ปีแห่งการเข้าสู่ระบบวิดีโอออนไลน์ ประวัติโดยย่อของ Sergey Brin ประวัติโดยย่อของ Larry Page บริการต่างๆ ของ Google บริการในกลุ่มดัชนีค้นหา(Search Engines) บริการในกลุ่ม Google Services บริการในกลุ่ม Google Tools บริการสำหรับคนที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ (website owner) บริการสำหรับกลุ่มธุรกิจองค์กร (Enterprise Solutions) อ้างอิง:http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/google/12.html

FTp (file transfer protocol)

FTP ย่อมาจาก(File Transfer Protocol)คือรูปแบบมาตรฐานบนโครงข่าย(standard network protocol) ชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับการส่งไฟล์หรือรับไฟล์(receive file)ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่าไคลเอนต์(client)กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่าโฮสติง(hosting)หรือเซิร์ฟเวอร์(server)โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทางPort21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้(User)และรหัสผู้เข้าใช้(password)ก่อน โปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย(server)ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเช่น โปรแกรมไฟล์ซิลลา CuteFTPหรือWSFTPในการติดต่อ เป็นต้น อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/Ftp

E-mail.com

E-Mail ย่อมาจาก EIectronic-Mail คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์(สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Internet )การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรมword จากนั้นก็คลิกคำสั่งเพื่อส่งออกไปโดยจะมีชื่อของผู้รับซึ่งเราเรียกว่าE-mail Address เป็นหลักในการรับส่งแต่ถ้าในกรณีที่เป็นการส่งอีเมลหรือข้อความโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับเราเรียกว่าSpam และเรียกอีเมลนั้นว่าเป็น spam mail อ้างอิง:http://guru.sanook.com http://mtbkzone.exteen.com http://www.ismed.or.th

Game Online กับการศึกษา

1.เกมเป็นสื่อที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคล่องและความสามารถรอบตัวสูงช่วยให้ผู้เล่นมีผลสัมฤทธิ์ได้อย่างกว้างขวางทั้งทางด้านพุทธิศึกษาและจริยศึกษาและความสามารถด้านการวิเคราะห์การสังเคราะห์และการประเมินค่า 2.เกมจะช่วยให้ผู้เล่นพัฒนาพลังความคิดสร้างสรรค์ได้มาก 3.เกมส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจการสื่อสารความสัมพันธ์กับผู้อื่นและเจตคติทางด้านความกระตือรือร้นที่จะฟังความเห็นผู้อื่นช่วยให้ผู้เรียนรู้จักแก้ปัญหา 4.ข้อได้เปรียบสูงสุดของวิธีสอนโดยใช้เกมคือความสนุกทำให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาที่มีผลการเรียนไม่ค่อยดี 5.เกมส่วนใหญ่มักจะใช้พื้นฐานทางวิชาการหลายๆด้านซึ่งทำให้ผู้เล่นต้องรู้จักบูรณาการความรู้และทักษะหลายๆด้านเข้าด้วยกัน อ้างอิง:http://narisara212.blogspot.com/2013/11/game-online.html

ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านต่างๆ

ด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการศึกษา ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มต้งแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม ด้านการเงินการธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ในด้านการเงินและธนาคาร ด้านการคมนาคม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง ด้านความมั่นคง มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ หรือจำลองสภาวการณ์ต่างๆ ด้านการพาณิชย์ องค์กรในภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรในการทำงาน อ้าอิง:https://sites.google.com/site/kruyutsbw/prayochn-laea-tawxyang

การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในครอบครัวของตนเอง

ใช้ในการหาข่าวสารข้อมูลในแต่ละวันหรือติดตามข่าวสารสถานณ์กับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆรวมถึงจัดหากิจกรรมต่างๆมาทำในครอบครัว เช่นการจัดกิจกรรมเล่นเกมส์โดยผ่านสื่อไอทีต่างๆเพื่อเป็นการสานสัมพันธ์ในครอบครัว เป็นต้น